welcome

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555


13 กรกฎาคม 2555

วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย  EAED  2203

เวลา 8.30 - 12.20 น.

                
               วันนี้กลุ่มของดิฉันได้ออกมานำเสนอวิดิโอสัมภาษ์  น้องออมและน้องมิ้งค์ ค่ะ  น้องทั้งสองคนนี้อายุ 7 ปีน้องออมจะเป็นคนขี้อาย  เวลาที่ถ่ายวิดีโอน้องเค้าจะหลบก้องและไม่ค่อยให้ความร่วมมือเท่าไหร่ มีอาการร้องไห้อีกต่างหาก  จึงทำให้การถ่ายวิดิโอมีปัญหา  จึงตัดสินใจเปลี่ยนคน  น้องที่กลุ่มดิฉันเลือกมาอีกคนชื่อ  น้องมิ้งค์  มีพัฒนาการภาษาที่ดีมาก เพราะเวลาถามอะไรไปน้องเค้าตอบฉะฉานและไม่มีอาการกลัวกล้องใดๆเลย
                 

เด็กอายุ 6-7 ปี ส่วนใหญ่จะศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมปีที่ 2 ควรจะมีพัฒนาการด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน ดังต่อไปนี้Development-2

        การฟัง สามารถแยกเสียง พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ คำวรรคตอน เป็นต้น ฝึกให้มีมารยาทในการฟัง สามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง ปฏิบัติตามคำสั่งและคำ แนะนำได้ถูกต้อง มีสมาธิและเข้าใจในการฟังคำอธิบายต่าง ๆ รวมทั้งฟังเรื่องราว หรือนิทานและติดตามเนื้อเรื่องตามลำดับ
        การพูด สามารถพูดเป็นกลุ่มคำ เป็นประโยค เป็นเรื่องและตอบคำถามเป็น มีมารยาทในการพูด เล่าประสบการณ์และพูดจากจินตนาการได้ พูดเกี่ยวกับบทบาท สมมติ พูดคำคล้องจอง เป็นต้น
       การอ่าน รู้จักอ่านออกเสียง และสะกดคำ วลี ประโยคได้ถูกต้องรู้จักเครื่องหมาย วรรคตอน รู้จักความหมายของคำ เมื่อนำไปใช้ในรูปวลี และประโยค สามารถอ่าน ในใจและอ่านออกเสียงคำพื้นฐาน ที่เด็กวัยนี้ควรทราบ ได้ถูกต้องเข้าใจความหมาย ของเรื่องที่อ่าน
       การเขียน สามารถคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด อ่านง่าย เป็นระเบียบ สะอาด สามารจะเขียนตามคำบอก และสะกดคำได้ถูกต้อง รวมทั้งแต่งความ แสดงความรู้ ความคิดเป็นตัวหนังสือให้ผู้อื่นรู้ได้


โดยทั่วไปแล้ว การพูด การออกเสียง และการใช้ภาษาจะมีพัฒนาการตามรูปแบบของมัน แม้ว่าจะมีมาตรฐานว่าอายุเท่านี้ ควรมีพัฒนาการได้เท่านี้ ซึ่งจริงๆ แล้วในแต่ละช่วงพัฒนาการก็มีอะไรหลายๆ อย่างต่างกันไป แม้ว่าเด็กที่ยังไม่สามารถพูดได้จนอายุ 2 ปี จะเรียนรู้ภาษาในเวลาไล่เลี่ยกัน และต้องใช้เวลาในการลำดับการเรียนรู้มากกว่าเดิม แต่จำไว้ว่า พัฒนาการต่างๆ นั้น มีหลายๆ อย่างให้เรียนรู้ และเด็กแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันในการพัฒนาตามความรู้สึกของแต่ละคนค่ะ

       

              ภาษาคือ ความเข้าใจและการใช้คำ ในความเป็นจริง ภาษาของเด็กนั้นเรียนรู้ตั้งแต่เกิด โดยการฟัง การตอบสนองต่อครอบครัว และทุกอย่างจะพัฒนาเมื่อถึงเวลาของมัน เด็กบางคนอาจพัฒนาได้เร็วกว่าคนอื่น แต่บางคนอาจช้ากว่าคนอื่นก็ได้ ลองมาดูตัวอย่างว่าเด็กวัยใด ควรมีพัฒนาการอย่างไรบ้างค่ะ
0-12 เดือน- พึมพำ (มัม ป้อ หม่ำ)
- เลียนแบบเสียงสิ่งต่างๆ (บรื๊นนน ซึ่งเป็นเสียงรถยนต์)
- ทำคลื่นหรือปรบมือหากมีคนเรียกร้อง
12-18 เดือน
- เริ่มชี้เรียกชื่อสิ่งของ
- เริ่มพูดคำเดี่ยวๆ เช่น แมว นม
18-24 เดือน- พูดหลายๆ คำ
- ผสมคำเข้าด้วยกัน เช่น หิวนม
- ฟังเรื่องเล่าสั้นๆ จากพ่อแม่
- เข้าใจคำถามง่ายๆ เช่น กล้วยอยู่ไหน

2-3 ปี
- เริ่มใช้ 3-5 คำ ต่อประโยค
- บอกคุณว่าเขากำลังทำอะไรอยู่
- ถามคำถาม
- เข้าใจความหมายต่างๆของคำ เช่น ใหญ่ เล็ก ใน นอก ใต้
18-24 เดือน
- พูดหลายๆ คำ
- ผสมคำเข้าด้วยกัน เช่น หิวนม
- ฟังเรื่องเล่าสั้นๆ จากพ่อแม่                                         
- เข้าใจคำถามง่ายๆ เช่น กล้วยอยู่ไหน
2-3 ปี
- เริ่มใช้ 3-5 คำ ต่อประโยค
- บอกคุณว่าเขากำลังทำอะไรอยู่
- ถามคำถาม
- เข้าใจความหมายต่างๆของคำ เช่น ใหญ่ เล็ก ใน นอก ใต้
2-3 ปี
- เริ่มใช้ 3-5 คำ ต่อประโยค
- บอกคุณว่าเขากำลังทำอะไรอยู่
- ถามคำถาม
- เข้าใจความหมายต่างๆของคำ เช่น ใหญ่ เล็ก ใน นอก ใต้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น